--------------------------------------------------_------------------_
ตามที่ได้ตั้งข้อสงสัยเรื่องอำนาจในการร้องทุกข์ดำเนินคดีของกรมธนารักษ์ ในการขอคืนพื้นที่ทางสาธารณะจากวัดพระธรรมกาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ “กล่าวหา” ว่าวัดพระธรรมกายบุกรุกทางสาธารณะ ในตอนที่แล้วว่า กรมธนารักษ์ ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางสาธารณะที่อยู่ในบริเวณใกล้กับวัดพระธรรมกาย ตามที่นายตำรวจใหญ่ให้สัมภาษณ์แล้ว
---------------------------------------------
“ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำผิด”
มีอยู่ ๒ ฐานะ คือ
1.ฐานะผู้ต้องหา โดยถูกหาว่าได้ทำผิดแต่ยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาล กับ
2.ฐานะจำเลย คือ ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้ทำผิดอาญาซึ่งได้ถูกฟ้องศาลแล้ว
โดยที่คนทุกคน
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
----------------------------------------------
เจ้าหน้าที่จะต้องปฎิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้รับการสันนิษฐานไว้แล้วว่า “เป็นผู้บริสุทธิ์” อย่างมีมนุษยธรรมและตามความเหมาะสม
และต้องได้รับการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่และศาลอย่างเป็นธรรมและเปิดเผยในความผิดที่ตนถูกกล่าวหาอีกด้วย
ชัดเจนนะครับ ว่าตราบใดที่ “ศาลยังไม่ได้มีพิพากษาถึงที่สุด” ซึ่งหมายความถึงมีคำพิพากษาจากศาลฎีกาว่าได้กระทำผิด ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่
ใครไปขยายความผิดๆว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้กระทำผิดจะถูกฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทได้นะครับ
-------------------------
มาเข้าเรื่องการกล่าวหาว่าวัดพระธรรมกายบุกรุกทางสาธารณะต่อกันดีกว่าครับ
เรามาตั้งหัวข้อสนทนาว่า ถ้าพื้นที่ที่วัดพระธรรมกายถูกกล่าวหาว่าบุกรุกเป็นพื้นที่สาธารณะจริง ใครล่ะควรเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษวัดพระธรรมกาย ?
เมื่อค้นข้อกฎหมายต่อไปก็พบ “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ. ๒๕๕๓” เขียนไว้ยังงี้ครับ
ข้อ ๕ ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่อยู่ในบังคับของระเบียบนี้ หมายถึง ที่ดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าเป็นโดยสภาพธรรมชาติโดยการใช้ร่วมกันของประชาชน โดยทางนิติกรรม หรือโดยผลของกฎหมาย เช่น ที่ชายตลิ่ง ที่ป่าช้า ทางบก ทางน้ำ สวนสาธารณะ ที่เลี้ยงสัตว์ และที่สาธารณะประจำตำบลหรือหมู่บ้าน
ข้อ ๖ อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินตามข้อ ๕ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
เป็นที่ชัดเจนว่า หากพื้นที่ที่วัดพระธรรมกายถูกกล่าวหาว่าบุกรุกใช้ประโยชน์เป็นที่สาธารณะจริง ผู้ที่จะไปร้องทุกข์กล่าวโทษคือชาวบ้านหรือประชาชนทั่วไปที่เสียประโยชน์จากการที่วัดพระธรรมกายบุกรุกนั้น
ซึ่งในคำให้สัมภาษณ์ของนายตำรวจใหญ่ไม่พบว่ามีชาวบ้านหรือผู้เสียหายอื่นยื่นเรื่องราวร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ นอกจาก กรมธนารักษ์ ซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหาย หรือผู้มีอำนาจร้องทุกข์กล่าวโทษวัดพระธรรมกายถูก
------------------------------
#แล้วผู้เสียหายจะไปร้องทุกข์กับใคร ?
ตำรวจใช่ไหม ?
----------------------------------------------
ถ้าดูจากระเบียบกระทรวงมหาดไทยข้างต้นจะเห็นได้ว่า ต้องไปร้องกับผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินตามข้อ ๖ คือ นายอำเภอหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หมายถึง อบต.)
ตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ไม่ใช่กฎหมายอาญาครับ
#ข้อสังเกตุอีกประการหนึ่งคือระเบียบกระทรวงมหาดไทย มุ่งหวังจะใช้หลักทางการปกครองเข้าแก้ปัญหาในลักษณะนี้ เพราะ กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ จึงกำหนดให้เจ้าหน้าที่ทางฝ่ายปกครองซึ่งหมายถึงนายอำเภอหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หมายถึง อบต.) เป็นผู้แก้ปัญหานี้
เอาให้ชัดๆเลยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช ๒๔๕๗ เขียนยังงี้ครับ
มาตรา ๑๒๒ นายอำเภอมีหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาและคุ้มครอง ป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน และสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์อื่นอันอยู่ในเขตอำเภอ
ซึ่งเมื่อนำมาประกอบกับ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ. ๒๕๕๓” ที่เขียนว่า
ข้อ ๖ อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินตามข้อ ๕ (ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน) ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
*** ก็ยิ่งชัดเจนครับว่า นายอำเภอหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หมายถึง อบต.) จะต้องเป็นผู้ดำเนินการระงับข้อพิพาท หรือร้องทุกข์กล่าวโทษในกรณีบุกรุกที่สาธารณะ ไม่ใช่กรมธนารักษ์ครับ ***
---------------------------------
#แล้วกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ดำเนินการอย่างไร ?
---------------------------------
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันพ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ 6 วรรค 2 เขียนว่า
ในกรณีมีข้อพิพาทหรือคดีเกี่ยวกับที่ดินตามวรรคหนึ่ง (หมายถึงพื้นที่สาธารณะ)ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการระงับข้อพิพาทหรือร้องทุกข์กล่าวโทษภายในสามสิบวัน นับแต่รู้เหตุแห่งข้อพิพาทหรือคดีนั้น
ครับได้ข้อยุติเสียทีว่าในกรณีบุกรุกที่ดินสาธารณสมบัติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้เริ่มดำเนินการระงับข้อพิพาทหรือร้องทุกข์กล่าวโทษ
---------------------------------
# ตำรวจจึงจะมีหน้าที่เข้ามาดำเนินการได้ในตอนนี้หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปร้องทุกข์กล่าวโทษแล้วเท่านั้นครับ
---------------------------------
คำพิพากษาย่อสั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณะ โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียน ป. อันเป็นสถานศึกษาในสังกัดของโจทก์ ......
“......ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธาณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สิน ของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่........”
---------------------------------
*** สรุป ได้ว่าคดีบุกรุกที่สาธารณะในเบื้องต้นตำรวจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเลย เว้นแต่หากนายอำเภอหรือ อบต.แก้ไขปัญหาไม่ได้และไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ ก็อีกเรื่องหนึ่งซึ่งก็ไม่แน่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะใช้บริการของตำรวจหรือจะฟ้องต่อศาลโดยตรง ***
---------------------------------ทำให้อยากรู้ขึ้นมาทันทีว่าพื้นที่ที่วัดพระธรรมกายถูกกล่าวหาว่าบุกรุกเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามที่ตำรวจตั้งข้อกล่าวหาหรือไม่ ?
---------------------------------
เพราะถ้าหากไม่ใช่พื้นที่สาธารณะตามที่กล่าวหา ตำรวจและผู้เกี่ยวข้องจะโดนฟ้องข้อหาบุกรุกเสียเองไหม ?
---------------------------------# มีข้อน่าคิดว่าการดำเนินการกับวัดพระธรรมกายซึ่งเป็นวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ทำไมไม่ใช้กฎหมายปกครองท้องถิ่นที่มีความนุ่มนวลเจรจาให้แก้ไขให้ถูก ?
*** #ส่วนในกรณีใช้กฎหมายหนักคือกฎหมายอาญา ดำเนินคดีในเรื่องนี้ผมมีคำตอบให้ครับว่า ที่ตำรวจมาติดหมายอาญานั้น อาจจะถูกวัดพระธรรมการย้อนเกล็ดแบบไม่รู้เกิดเลยก็ได้นะครับ ***
#ประเด็นนี้น่าสนใจมากกกกก สิบอกให้ เพราะหากมีใครมายัดคดีอาญาให้เราเพราะบุกรุกที่สาธารณะ ต้องถูกสวนแรงๆครับ ส่วนวัดพระธรรมกายจะคิดอย่างไร ก็สุดแต่ครับ
สวนกลับในจังหวะนี้...
ตอบลบเกรงแต่...
เมื่อตำรวจไม่มีอำนาจรื้อถอนในขั้นตอนนี้ เพราะต้องรอผู้เสียหายคืออบตไปแจ้งให้รื้อถอนภายใน 30 วัน แต่ถ้าไม่รื้อถอน ก็ต้องฟ้องศาลรอศาลสั่งรื้อถอนตามลำดับ
ตอบลบแสดงว่า ตร. หรือ กรมธนารักษ์ ไม่มีอำหน้าหน้าที่
ถ้าไม่มีหน้าที่และทำหน้าที่มิชอบ ก็ต้องโดน ม.157 ได้ ใช่หรือไม่?
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจจะสั่งให้ผู้บุกรุกทำการรื้อถอนหรือแก้ไขให้ถูกต้องภายใน 30 วัน หากไม่ดำเนินการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจหรือฟ้องศาลต่อไป ***
ลบน่าคิดนะคะเราเป็นกลุ่มคนดีก็มีทนายดีๆๆมาช่วยนี่คือทำดีย่อมได้ดี สัจจะธรรมคะสาธุขอบพระคุณ ท่านทนายด้วยความเคารพคะให้ได้บุญเยอะๆๆนะคะ
ตอบลบ